อารยสถาปัตย์ (Universal Design) คือการออกแบบ ที่คำนึงถึงการใช้งานของคนทุกกลุ่ม ทุกวัย ทั้งคนที่แข็งแรงดี เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และคนที่มีความบกพร่องทางกาย เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น สะดวก ปลอดภัย และเท่าเทียม โดยเฉพาะ ห้องน้ำผู้พิการ ที่ควรมีดีไซน์และสุขภัณฑ์ที่จำเป็นอย่างครบถ้วน
1. 9 ของใช้ สำหรับ ห้องน้ำผู้พิการ ควรมีอะไรบ้าง ?
1.1 ประตูบานเลื่อน
หากถามว่า สำหรับผู้ทุพพลภาพแล้ว สุขภัณฑ์ห้องน้ำมีอะไรบ้าง ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ได้มากที่สุด ? ประตูบานเลื่อน คงเป็นอันดับแรก ๆ ที่ควรนึกถึง เพราะมีผลอย่างมาก ต่อการเข้าถึงของผู้ใช้รถเข็น ซึ่งควรกว้างอย่างน้อย 90 เซนติเมตร, มีอุปกรณ์เปิดปิดแบบก้านบิดหรือแกนผลัก, สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1 – 1.2 เมตร และไม่มีตัวบังคับปิดประตู
1.2 ชักโครกอัตโนมัติ
กึ่งกลางของโถชักโครกต้องอยู่ห่างจากผนัง ไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร และสูงจากพื้น 40 – 45 เซนติเมตร โดยมีที่กดน้ำเป็นแบบคันโยกขนาดใหญ่ อยู่ในตำแหน่งที่ใช้งานง่าย หรือจะเลือกเป็นโถสุขภัณฑ์อัตโนมัติ ที่มีฟลัชวาล์วเซนเซอร์ ปล่อยน้ำทำความสะอาดให้เองหลังใช้งานก็ได้
1.3 โถปัสสาวะชายตั้งพื้น
ห้องน้ำผู้พิการขนาดใหญ่ อาจพิจารณาติดตั้งโถปัสสาวะชายแบบตั้งพื้นร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย และลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างการย้ายจากรถเข็นไปยังชักโครก เพราะผู้ใช้จะสามารถนำวีลแชร์มาจอด เพื่อปัสสาวะได้ทันที โดยไม่ต้องลุกขึ้นให้ลำบากเลย
1.4 สายฉีดชำระ
สำหรับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำทั่วไปตามบ้าน ตามที่สาธารณะ หรือห้องน้ำผู้พิการ ผู้สูงอายุ ก็ควรติดตั้งสายฉีดชำระไว้ด้วยเสมอ เพื่อให้รองรับกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ แนะนำให้ติดตั้งสูงจากพื้น 55 – 120 เซนติเมตร ห่างจากขอบหน้าของโถส้วม 18 – 23 เซนติเมตร เพื่อให้หยิบใช้ได้สะดวกที่สุด
1.5 ราวจับพยุงตัว
ถ้าคุณกำลังสงสัยว่า ภายในห้องน้ำผู้พิการ สุขภัณฑ์ห้องน้ำมีอะไรบ้างที่จะขาดไม่ได้ ? คงต้องยกอันดับหนึ่ง ให้กับราวจับหรือราวช่วยพยุงตัว เพราะคือไอเทมจำเป็น ที่จะทำให้ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แม้ขณะอยู่ลำพัง โดยควรเลือกราวกลม ผิวไม่ลื่น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 – 4 เซนติเมตร สำหรับข้างโถส้วมควรเลือกเป็นรูปตัวแอล ติดให้สูงจากพื้น 65 – 70 เซนติเมตร ส่วนด้านที่ไม่ติดผนัง แนะนำให้เลือกเป็นราวแบบพับเก็บได้ ติดให้ห่างจากโถส้วม 15 – 20 เซนติเมตร เพื่อจะได้ช่วยพยุงทั้งสองข้าง ขณะย้ายจากวีลแชร์
1.6 กระจกเงามุม 10 องศา
1.7 เครื่องจ่ายสบู่อัตโนมัติ
เครื่องจ่ายสบู่เหลวเซนเซอร์ จะใช้การตรวจจับลำแสงอินฟราเรดแบบอัตโนมัติ เพื่อเริ่มทำงาน สามารถจ่ายสบู่ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และยังช่วยลดเสี่ยงสัมผัสโรค ที่สำคัญคือผู้ใช้ไม่ต้องออกแรงกด เพื่อให้ได้สบู่ออกมา จึงช่วยลดภาระของผู้ใช้ได้อย่างดี เหมาะมากสำหรับการติดตั้งไว้ในห้องน้ำผู้พิการ ผู้สูงอายุ
1.8 อ่างล้างมือรองรับวีลแชร์
ห้องน้ำผู้พิการขนาดมาตรฐาน ควรติดตั้งอ่างล้างมือให้สูงจากพื้น 75 – 80 เซนติเมตร จุดกึ่งกลางห่างจากผนัง 45 เซนติเมตร ซึ่งพื้นที่ใต้อ่างต้องมีช่องสำหรับวางเท้าและเข่า ที่กว้างเพียงพอสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ โดยต้องไม่มีของมีคม หรือของที่อาจเป็นอันตรายอยู่ใต้อ่างด้วย ในส่วนของก๊อกน้ำ อาจเลือกเป็นก้านโยก ก้านกด ก้านหมุน หรือจะใช้เป็นก๊อกน้ำอัตโนมัติก็ได้
1.9 เครื่องเป่ามืออัตโนมัติ
เครื่องเป่ามือแห้งแบบเซนเซอร์ คือหนึ่งในของใช้จำเป็นสำหรับห้องน้ำผู้พิการ ที่จะช่วยสร้างเสริมสุขอนามัยที่ดี และลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ เพราะหลังจากทำธุระทุกอย่างเสร็จสิ้น มือทั้งสองของผู้ใช้งานควรแห้งสนิท ภายในเวลาอันรวดเร็ว จะได้ไม่กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อ และไม่ทำให้ลื่นจนพลาดเจ็บตัว
2. สุขภัณฑ์ห้องน้ำผู้พิการ ผู้สูงอายุ มั่นใจ PURE SERV
เพียว เซิร์ฟ โซลูชันสำหรับการดูแลห้องน้ำผู้ทุพพลภาพ และผู้สูงอายุแบบครบวงจร ซึ่งเราพิถีพิถันทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกวัสดุที่ทนทาน การออกแบบที่คำนึงถึงความสะดวกสบาย และความปลอดภัยสูงสุดขณะใช้งาน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของยูนิเวอร์แซลดีไซน์มากที่สุด
หากถามว่า ที่เพียว เซิร์ฟ สุขภัณฑ์ห้องน้ำมีอะไรบ้าง ? ตอบได้คำเดียวว่า เรามีครบทุกอย่างที่คุณต้องการ อาทิเช่น โถปัสสาวะชาย, ฟลัชวาล์วอัตโนมัติ, เครื่องจ่ายสบู่อัตโนมัติ, ก๊อกน้ำอัตโนมัติ, เครื่องเป่ามือเซนเซอร์
3. สรุป
โดยทั่วไปแล้ว ของใช้สำหรับห้องน้ำผู้พิการ รวมถึงห้องน้ำของผู้สูงอายุ มักมีลักษณะและฟังก์ชันใกล้เคียงกับปกติ เพียงแต่อาจมีรายละเอียดที่เพิ่มเติมเข้ามา ในส่วนของการติดตั้ง และการเลือกวางตำแหน่ง ซึ่งหากคุณต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อเราได้เลยตลอดเวลา
4. ข้อมูลจาก
- การวัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ UD Check list หมวดห้องน้ำ: ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (Chula.UDC); 2021
- ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Building and Environments Design Recommendation for All): สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
- Approved Document M: access to and use of buildings: United Kingdom Government; 2015
- 2010 ADA Standards for Accessible Design: Department of Justice; 2010
บทความแนะนำ
แชร์ไอเดีย โถสุขภัณฑ์ เลือกแบบไหนตอบโจทย์ต่อการใช้งานมากที่สุด ! บทความนี้มีคำตอบ